top of page

“Post-Digital Era” ทรานสฟอร์มแล้วไปไหน?

“Post-Digital Era” ทรานสฟอร์มแล้วไปไหน?

 

ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างความเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคม อย่างการปฎิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) และการปฎิวัติดิจิทัล (Digital Disruption) คือ ความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และไม่จำกัดขอบเขตของการเปลี่ยนแปลง โดยการปฎิวัติดิจิทัลนั้น นอกจากจะสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ พลิกโฉมอุตสาหกรรมและธุรกิจแล้ว ยังทำให้ “อายุ” ของเทคโนโลยีและทักษะทางดิจิทัลหดสั้นลงอย่างรวดเร็ว ในโลกยุคหลังดิจิทัล (Post-Digital World) ตัวแปรสำคัญในการอยู่รอดจึงมาจากการนำ “เครื่องมือ” อย่างดิจิทัลมาเป็น “หัวใจหลัก” ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อพลิกโฉมสิ่งที่มีอยู่แล้ว ให้เกิดประโยชน์มากไปกว่าความสามารถเดิม ดังเช่นการจัดทีมที่นำความเชี่ยวชาญของแต่ละแวดวงอุตสาหกรรมมาจับมือกับความช่ำชองด้านเทคโนโลยีในรูปแบบที่เรียกว่า “Tech Village” ของกลุ่มธุรกิจไอโอทีและดิจิทัลโซลูชันภายใต้ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป กับแนวคิด “Digital is a Core”


ทั้งนี้ ความสามารถที่ยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับจำนวนข้อมูลที่ใหญ่ยิ่ง แต่ข้อมูลจำนวนมหาศาลนั้น จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ หากไม่มีใครสามารถเชื่อมโยงชุดข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อประกอบเป็นภาพรวมที่สมบูรณ์ หรือวิเคราะห์ความสำคัญของข้อมูลเหล่านั้นได้ สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในยุคหลังดิจิทัลจึงเป็นการประกอบภาพที่สมบูรณ์และความสามารถในการหานัยยะสำคัญของข้อมูลเหล่านั้นได้ เช่น “True Data Universe” โดยกลุ่มธุรกิจไอโอทีและดิจิทัลโซลูชั่นภายใต้ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ที่เป็นตัวกลางในการรวบรวมข้อมูลต่างๆ จากอุปกรณ์หลายชนิดหรือรวบรวมให้เกิดเป็น Data Ecosystem ของธุรกิจของลูกค้า กลายเป็นคลังข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อส่งต่อไปยังกระบวนการ “วิเคราะห์ข้อมูล” โดยกลุ่ม Data Scientists เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลทางธุรกิจในทุกมิติที่ลูกค้าเองนั้นอาจยังไม่เคยเห็นมาก่อน



โค-Monitoring: กรณีตัวอย่างเมื่อคนกับเครื่อง (Human and Machine) ดูแลวัวไปด้วยกัน

หนึ่งในผลกระทบสำคัญที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการปฎิวัติดิจิทัลและโลกยุคหลังดิจิทัล คือคำกล่าวที่ว่า “เทคโนโลยีกำลังแย่งงานของมนุษย์” ซึ่งมาพร้อมกับข่าวและบทวิเคราะห์แนวโน้มการจ้างงานที่กำลังลดลงจากกระบวนการอัตโนมัติที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และความคิดที่ว่า การก้าวสู่ดิจิทัลนั้นเป็นเรื่องของบริษัทเทคโนโลยีหรือการเงินการธนาคาร


ทั้งที่จริงแล้ว ประโยชน์สำคัญของการนำดิจิทัลเป็นหัวใจหลักในการพัฒนานั้น คือการเพิ่มโอกาสและขีดความสามารถให้กับผู้คนในทุกระดับและทุกแวดวง โดยมีตัวอย่างสำคัญ เช่น โซลูชั่นติดตามพฤติกรรมปศุสัตว์ (Digital Cow Monitoring Solution) ครั้งแรกของไทยที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของสามผู้นำ ได้แก่ กลุ่มธุรกิจไอโอทีและดิจิทัลโซลูชันภายใต้ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ออลเฟล็กซ์ (Allflex) ผู้นำด้านเทคโนโลยีปศุสัตว์ระดับโลก และบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ที่ได้ร่วมกันนำเทคโนโลยีระดับโลกในการติดตามพฤติกรรมปศุสัตว์ เข้ามาแก้ไขปัญหาสำคัญของเกษตรกรฟาร์มโคนมไทย อันได้แก่ การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะการผสมพันธุ์โค โดยก่อนหน้านี้ การติดตามพฤติกรรมการติดสัดของโคนั้นมักทำได้ยาก โดยต้องอาศัยทักษะ ประสบการณ์ รวมทั้งเวลาในการติดตามพฤติกรรมโคแม่พันธุ์อย่างใกล้ชิด จนทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่มักขาดโอกาสในการหาเวลาวางแผนขยายฟาร์มและกำลังการผลิต หรือแม้กระทั่งพลาดโอกาสในการผสมพันธุ์ในแต่ละปี แต่ด้วยโซลูชั่นดังกล่าว เกษตรกรสามารถใช้เวลาที่ต้องเฝ้าระวังไปในการพัฒนาคุณภาพผลผลิตและการวางแผนธุรกิจอื่นๆ ได้ โดยรูปแบบการให้บริการแบบสมาชิก (Subscription Model) ซึ่งมีขึ้นเป็นครั้งแรก จากทรู ดิจิทัล ยังทำให้เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีระดับโลกได้ง่ายขึ้นอีกด้วย


ทั้งนี้ นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการ “อยู่รอด” ในยุคหลังดิจิทัล เพราะความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและต่อเนื่องอันเป็นลักษณะพิเศษของยุคนี้หมายความว่า “การอยู่นิ่ง” ไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป และ “ผู้รอดชีวิต” ในวันนี้ อาจตกรอบการแข่งขันในวันพรุ่งนี้ได้ตลอดเวลา การสร้างแนวคิดของการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่องและยั่งยืนจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการอยู่รอดในยุคต่อจากนี้



1,011 views

Comments


bottom of page